- คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”
- คอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป
- คอมพิวเตอร์ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น
ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
1. อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า (Input Devices)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
4. อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Devices)
5. อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage)
1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล(Input Device)
ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์ สเกนเนอร์ ไมโครโฟน อุปกรณ์นำเข้า มีมากมายหลายหลายรูปแบบ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1) หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input) คืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี คือ เมาส์ (Mouse) ,คีย์บอร์ด (Keyboard)
1) หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input) คืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี คือ เมาส์ (Mouse) ,คีย์บอร์ด (Keyboard)
2) หน่วยป้อนข้อมูลเสริม (Alternative Input) คืออุปกรณ์ที่จะมีหรือไม่ก็ได้คอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้ แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการป้อนข้อมูลเข้า เช่น การนำเข้ารูป เสียง เป็นต้น
หน่วยป้อนข้อมูลเสริม เช่น ไมโครโฟน กล้องดิจิตอล สเกนเนอร์ ปากกาแสง จอยสติ๊ก เครื่องอ่านบาร์โค้ด
2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor)
- หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip)
- เป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Device) ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน
- ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยตรรกะ และรีจิสเตอร์
- หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ 2.1 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
2.2 หน่วยควบคุม (Control Unite)
2.3 รีจิสเตอร์
ทำหน้าที่ในเครื่องคำนวณ เปรียบเทียบ ปฏิบัติทางตรรกะ ภายใต้การควบคุมของโปรแกรม โดยที่
- การปฏิบัติงานด้านคำนวณ (Arithmetic Operations) ประกอบด้วย การ บวก ลบ คูณ หาร
- การปฏิบัติด้านการเปรียบเทียบ(Comparison Operations) เป็นการเปรียบเทียบค่าของข้อมูลหนึ่งกับข้อมูลอื่นๆ และมีการตัดสินใจว่าค่านั้นมีค่ามากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับ ซึ่งผลก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดเงื่อนไขในการตรวจสอบ
- การปฏิบัติงานทางตรรกะ(Logic Operation) เป็นการใช้เงื่อนไขทางตรรกะ เช่น AND ,OR และ NOT 2.2 หน่วยควบคุม (Control Unit)
- ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง
- รวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรอง ซึ่งก็ถือว่าเป็นการควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด 2.3 รีจิสเตอร์ (Register)
- เป็นหน่วยที่ใช้จัดเก็บข้อมูลหรือชุดคำสั่งไว้ชั่วคราวในระหว่างการประมวลผลของซีพียู
- มีขนาดที่จำกัด ถ้าต้องการเก็บข้อมูลปริมาณมากก็จะจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก โดยคอมพิวเตอร์จะทำการโหลดชุดคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์เพื่อเตรียมการประมวลผล ทั้งนี้แต่ะละรีจิสเตอร์ต่างก็มีหน้าที่แตกต่างกัน เช่น รีจิสเตอร์ (Register)
- Program Counter (PC) คือรีจิสเตอร์ที่เก็บตำแหน่งที่อยู่หรือแอดเดรสของคำสั่งถัดไปที่จะนำมาประมวลผล
- Instruction Register (IR) คือรีจิสเตอร์ที่เก็บคำสั่ง ก่อนการเอ็กซีคิวต์
- Accumulator (AC) คือรีจิตเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว
3. หน่วยความจำหลัก
เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลและคำสั่งเพื่อส่งให้กับหน่วยประมวลผลกลางประมวลผล หน้าที่ของหน่วยความจำหลัก1.จัดเก็บชุดคำสั่ง
2.จัดเก็บข้อมูลเพื่อรอการประมวลผล
3.จัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล จากนั้นก็นำสารสนเทศเหล่านั้นส่งออไปยังเอาต์พุตทีต้องการ หรือจัดเก็บลงในหน่วยความจำสำรอง
หน่วยของข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำจะใช้ป็นไบต์ กิโลไบต์ เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์
หน่วยของข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำ
2.ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ใน CMOSเช่น เวลา และวันที่ของระบบ ค่าของฮาร์ดดิสก์ และไดรว์ซีดี/ดีวีดี เป็นต้น
3.CMOS ใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรรี่ (CMOS battery) ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อสารสนเทศใน CMOS จึงไม่สูญหาย
4.ลักษณะเด่นของ CMOS อีกอย่าง คือ ข้อสารสนเทศที่บันทึกใน CMOS สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การเพิ่ม RAM และ ฮาร์ดแวร์อื่นๆ
- กิโลไบต์ KB = 1024 หนึ่งพันไบต์
- เมกะไบต์ MB = 1,048,576 หนึ่งล้านไบต์
- กิกะไบต์ GB = 1,073,741,825 หนึ่งพันล้านไบต์
- เทระไบต์ TB = 1,099,511,627,776 หนึ่งล้านล้านไบต์
หน่วยความจำหลักที่รู้จักกันทั่วไปมี 3 ประเภท คือ แรม(Ram) รอม(Rom) และซีมอส(CMOS)
- หน่วยความจำแรม (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว(Volatile Memory) ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
- หน่วยความจำรอม (Read Only Memory )
1. เป็นหน่วยความจำถาวร อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้กระไฟฟ้าจะดับข้อมูลภายในก็ยังคงอยู่
2. เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้น (Start-Up)
3.ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน)
- หน่วยความจำซีมอส (Complementary Metal-Oxide Semiconductor)
2.ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ใน CMOSเช่น เวลา และวันที่ของระบบ ค่าของฮาร์ดดิสก์ และไดรว์ซีดี/ดีวีดี เป็นต้น
3.CMOS ใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรรี่ (CMOS battery) ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อสารสนเทศใน CMOS จึงไม่สูญหาย
4.ลักษณะเด่นของ CMOS อีกอย่าง คือ ข้อสารสนเทศที่บันทึกใน CMOS สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การเพิ่ม RAM และ ฮาร์ดแวร์อื่นๆ
ขั้นตอนการประมวลผลของซีพียู
พื้นฐานการดำเนินงานทางคอมพิวเตอร์คือการ เอ็กซีคิวต์โปรแกรม ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มของชุดคำสั่งที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ โดยซีพียูจะประมวลผลข้อมูลตามคำสั่งในโปรแกรมซึ่งมีลักษณะต่อเนื่องกันไป เรียกว่า วัฏจักรเครื่อง (Machine Cycle)
1.การเฟตช์ (Fetch) เป็นกระบวนการที่หน่วยควบคุม (CU) ไปนำคำสั่งที่ต้องการใช้จากหน่วยความจำมาเพื่อการประมวลผลมาเก็บไว้ที่ Register
2.การแปลความหมาย ( Decode ) เป็นกระบวนการถอดรหัสหรือแปลความหมายคำสั่งต่างๆ เพื่อส่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะเพื่อดำเนินการต่อไป
3.การเอ็กซ์คิวต์ ( Execute ) เป็นกระบวนประมวลผลคำสั่งโดยหน่วยคำนวณและตรรกะ ซึ่งการประมวลผลจะประมวลผลทีละคำสั่ง
4.การจัดเก็บ ( Store ) เป็นกระบวนการจัดเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลและจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือรีจิสเตอร์
ขั้นตอนการประมวลผลทั้ง 4 ขั้นตอนซึ่งประกอบด้วย
Fetch->Decode->Excute->Store ขั้นตอนการทำงานของซีพียูที่เข้าใจง่าย ๆ มีดังนี้
1. การนำคำสั่งหรือข้อมูลเข้ามาภายในตัวซีพียู
2. การจัดเรียงคำสั่งหรือข้อมูลที่นำเข้า
3. การถอดรหัสข้อมูล
4. การควบคุมและการตรวจสอบการทำงาน
5. การประมวลผลเลขทศนิยม
6. การประมวลผลทางด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ
7 . การนำผลลัพธ์ที่คำนวณได้ไปเก็บไว้ที่ Register
2. การจัดเรียงคำสั่งหรือข้อมูลที่นำเข้า
3. การถอดรหัสข้อมูล
4. การควบคุมและการตรวจสอบการทำงาน
5. การประมวลผลเลขทศนิยม
6. การประมวลผลทางด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ
7 . การนำผลลัพธ์ที่คำนวณได้ไปเก็บไว้ที่ Register
8. การอ่านค่าผลลัพธ์นั้นไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำหรือรีจิสเตอร์เพื่อรอการแสดงผล
4. อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)
เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรายงานด้วยเครื่องพิมพ์ การแสดงผลจากจอภาพ และการแสดงผลในรูปของเสียงและวิดีโอ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลได้แก่ เครื่องพิมพ์ และ จอภาพ
5. อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage)
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หรือ เรียกว่า หน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) มีไว้เพื่อสำหรับจัดเก็บข้อมูล หรือ โปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้งานในวันต่อ ๆ ไป
เนื่องจากหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์นั้น เป็นหน่วยความจำแบบแรมที่ข้อมูลและโปรแกรมจะสูญหายไป เมื่อกระแสไฟฟ้าดับ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ลงบนหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถาวร เช่น เทปแม่เหล็ก ดิสก์เกตต์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดีรอม การ์ดหน่วยความจำ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์มี คุณสมบัติดังนี้
- ความเร็ว (Speed)
- ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
- ความเที่ยงตรงและแม่นยำ (Accuracy)
- จัดเก็บข้อมูลได้ปริมาณมาก (Storage) ความสามารถในการสื่อสารและเครือข่าย (Communications and Networking
- ความเร็ว (Speed)
- ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
จากการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมีความน่าเชื่อถือสูง หมายถึง ความผิดพลาดต่ำ หรือ อาจไม่มีความผิดพลาดเลย จึงเรียกว่า “ความน่าเชื่อถือสูง”
- ความเที่ยงตรงและแม่นยำ (Accuracy)
- จัดเก็บข้อมูลได้ปริมาณมาก (Storage)
- ฮาร์ดดิสที่มีความจุ 1 GB สามารถ บรรจุจัดเก็บข้อมูลได้ประมาณ หนึ่งพันล้านตัวอักษร
- ความสามารถในการสื่อสารและเครือข่าย (Communications and Networking)
ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีประเด็นในการพิจารณาดังนี้
1. กำหนดแนวทางจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจในยุคปัจจุบัน ดังนั้นการวางแผนระยะยาวในเรื่องของความสามารถและประสิทธิภาพในอนาคตของฮาร์ดแวร์จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างต่อเนื่องเพื่อโอกาสทางธุรกิจ
2. การกำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์
-เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์สามารถที่ช่วยสนับสนุนการขยายขีดความสามารถขององค์กรได้
-การเลือกซื้อแบบจัดหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ จึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่จัดหานั้นสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรอย่างแท้จริง
3. การจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ต้องให้งบประมาณในการจัดหา การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ เป็นแนวทางที่ช่วยให้การบริหารจัดการสะดวกและมีประสิทธิภาพ
-เพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้นานขึ้น จึงควรรู้จักวิธีการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์บ้าง โดยในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์การดูแล รักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และปัญหาทั่วไปในการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมีรายละ เอียดังต่อไปนี้3. การจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ต้องให้งบประมาณในการจัดหา การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ เป็นแนวทางที่ช่วยให้การบริหารจัดการสะดวกและมีประสิทธิภาพ
-สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
- สภาพอากาศ
- ความร้อน
- แสงแดด
- ฝุ่นละออง
- น้ำ
- ความร้อน
- แสงแดด
- ฝุ่นละออง
- น้ำ
การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
- การเปิด – ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์บ่อย ๆ
- ความร้อน
- ฝุ่นละออง
เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เสียหายได้เร็วขึ้น เนื่องจากฝุ่นละอองจะเข้าไปขัดขวางทางเดินของกระแสไฟฟ้าบนแผงวงจร ทำให้ฮาร์ดแวร์ชิ้นนั้นทำงานได้ไม่เต็มที่หรือทำงานติดขัด นอกจากนี้ ฝุ่นละอองยังเป็นตัวปิดกั้นไม่ให้ความร้อนระบายออกไปได้ ฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงจากฝุ่นเป็นอย่างยิ่งก็คือ เครื่องพิมพ์ (Printer) เนื่องจากหากฝุ่นได้เข้าไปเกาะอยู่บนหัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์แล้ว จะเข้าไปขวางกั้นการทำงานของเครื่องพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท จะทำให้การพิมพ์ภาพหรือตัวอักษรบนกระดาษเลอะเลือนได้
- น้ำ
น้ำ หรือของเหลว เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ชิ้นต่าง ๆ เสียหายได้ เนื่องจากฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน และน้ำก็เป็นตัวการที่ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นจึงไม่ควรนำน้ำหรือของเหลวใด ๆ เข้าใกล้ฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นแต่หากต้องใช้น้ำใน การทำความสะอาดก็ควรถอดปลั๊กไฟออกก่อน และใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาด แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดซ้ำ
- กระแสไฟฟ้า
ฮาร์ดแวร์เสียหายได้
- สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น