กรสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย



                                       วิวัฒนาการของการสื่อสารของมนุษย์
          หากจะพูดว่าการสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษย์คงจะไม่ผิดทั้งนี้เป็นเพราะว่าการสื่อสารข้อมูลนั้นทำให้มนุษย์สามารถสื่อความคิด เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและมีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

           หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล

1. ผู้ส่ง (Sender)
      ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น

2. ผู้รับ (Receiver)
   ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสารหรือเป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

3. สื่อกลาง (Medium)
    เป็นสื่อหรือช่องทางเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม เป็นต้น

 4. ข่าวสาร (Message)
     เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ

    1. เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้ การส่งข่าวสารรูปแบบเสียงจะส่งด้วยความเร็วต่ำ

    2. ข้อมูล (Data) ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแน่นอน เป็นรหัสบิต การส่งข่าวสารรูปแบบข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง

    3. ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของอักขระหรือเอกสาร การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง

    4. ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก การส่งข่าวสารรูปแบบภาพจะส่งด้วยความเร็วสูง

 5. โพรโตคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software)
    โพรโตคอล (Protocol) คือวิธีการหรือกฎระเบียบต่างๆเพื่อควบคุมการทำงาน ของระบบสื่อสารข้อมูลเพื่อให้สามารถเข้าใจกัน เป็นเหมือนข้อบังคับให้คนสองคนที่ติดต่อสื่อสารกันใช้ภาษากลางในการติดต่อสื่อสารในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้


การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร 
การ สื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตระหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้  
  • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) 
      การ ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ แอดเดรส

  • โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
       เป็น การส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการ ส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
 
  • วอยซ์เมล (Voice Mail)
       เป็น การส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือ ข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียง พูดตามเดิม
 
  • การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
       เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ประชุม
  • การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
       เป็น ระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
 
  • กรุ๊ปแวร์(groupware)
        เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
 
  • การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
        ปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชี ธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM

  • การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
        เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน

  • การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)  

ชนิดของสัญญาณข้อมูล

1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)              
 
      เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณ ก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ  
 
       เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ                 
 
2. สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)
 
       สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล
 
       Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,400 บิตในระยะเวลา 1 วินาที

3. โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                  
 
            โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น สัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที

ทิศทางการส่งข้อมูล

1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
      เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว และผู้รับข้อมูล ก็ทำหน้าที่รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวด้วยเช่นกัน การส่งข้อมูลในลักษณะนี้ เช่น การส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ โดยที่สถานีส่งสัญญาณโทรทัศน์จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเท่านั้น และเครื่องรับโทรทัศน์ก็จะทำหน้าที่รับสัญญาณเท่านั้นเช่นกัน
  
2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex-Transmission)
     เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้รับและผู้ส่ง โดยแต่ละฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล แต่จะต้องสลับกันทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูล จะเป็นผู้ส่งพร้อมกันทั้งสองฝ่ายไม่ได้ ลักษณะการส่งข้อมูลประเภทนี้ เช่น การสื่อสารโดยใช้วิทยุสื่อสารซึ่งผู้ที่จะส่งข้อมูลต้องกดปุ่มเพื่อส่งข้อมูล ในขณะนั้นผู้อื่นจะเป็นผู้รับข้อมูล

3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission)
     เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล โดยทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นผู้ส่งและ ผู้รับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันลักษณะการส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน เช่น การสื่อสารโทรศัพท์ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถพูดพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน


สื่อกลางนำข้อมูล (Media)

สื่อกลางนำข้อมูลมี 2 ประเภทได้แก่
 
1.ตัวกลางส่งข้อมูลแบบมีสาย (Wire Transmission) 
 
2.ตัวกลางส่งข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Transmission)


หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล

1.ราคา
  
2.ความเร็ว
 
3.ระยะทาง
 
4.สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขี้น
 
5.ความปลอดภัยของข้อมูล


มาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
  • บลูทูธ (Bluetooth)

  •  ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และ

  • ไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อน ๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วย

  • ไวไฟ (Wi-Fi) ไว-ไฟ เป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่นิยมกันทั่วโลก ใช้สัญญาณวิทยุในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านเครือข่ายไร้สายจากบริเวณที่มีการติดตั้ง access point ไปยังอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ และโน๊ตบุค เป็นต้น

  • ไว-แมกซ์(Wi-MAX)  ไวแมกซ์ (WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 โดยสามารถส่งข้อมูลกระจายสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังหลายจุด (Point to Multipoint) ได้พร้อมๆกันและสามารถส่งข้อมูลผ่านสิ่งกีดขวางได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันจึงนิยมใช้งานกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีรัศมีทำการกว้างถึงประมาณ
  •  
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
• เครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการสื่อสารข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลทั่วไปในการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยในการเชื่อมต่อนั้นประสิทธิภาพเครือข่ายขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆดังนี้
1. จำนวนเครื่องของคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย

2. สื่อนำข้อมูล (Transmission Meduim)

3. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware)

4. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (Software)


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
  • การนำทรัพยากรทางฮาร์ดแวร์มาใช้ร่วมกัน
  • การใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกัน (Software sharing)
  • การใช้ข้อมูลร่วมกัน (File sharing)
  • การสื่อสารระหว่างบุคคล (Electronic Communication)
  • ค่าใช้จ่ายถูกลง
  • การบริหารเครือข่าย+ระบบรักษาความปลอดภัย
  • เสถียรภาพของระบบ
  • การสำรองข้อมูล

ประเภทระบบเครือข่ายในองค์กร

1. เครือข่ายอินทราเน็ต

    อินทราเน็ต หรือระบบเครือข่ายภายในองค์กร คือระบบเครือข่ายภายในองค์กรที่นำเทคโนโลยีแบบเปิดจากอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกัน (Workgroup)
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารร่วมกัน ตลอดจนการทำงานต่าง ๆของระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร

  2. เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต

    เอ็กซ์ทราเน็ต หรือ เครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมต่อภาย
ในองค์กร (Intranet) เข้ากับระบบที่อยู่ภายนอกองค์กร โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบ เครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตได้

3. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก

    อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายของเครือข่าย (Network of Network) ซึ่งสื่อสารกันได้โดยใช้โปรโตคอลแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันเมื่อนำมาใช้ในเครือข่ายแล้วสามารถแลกเปลี่ยน ข้อมูลกันได้

    อินเทอร์เน็ตมีเริ่มใช้งานเมื่อปี ค.ศ.2969 ภายใต้ชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET: Advanced Research Projects Agency Network)


ความปลอดภัยในระบบเครือข่าย



  •   ความเสียหายของข้อมูลในระบบเครือข่าย
  • Computer เสียหาย
  • ไม่ได้อบรมการใช้งาน
  • อุบัติเหตุ
  • ไฟไหม้
  • ภัยธรรมชาติ
  • การป้องกันข้อมูลในระบบเครือข่าย
  • Firewall
  • Password
  • Back up




 
  
  
  
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น