Software



 ซอฟต์แวร์ 

       เพื่อให้เข้าใจถึงซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการพัฒนาเสียก่อน ภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละยุคประกอบด้วย

1. ภาษาเครื่อง(Machine Languages) 
  • เป็นภาษายุคที่ 1
  • เป็นภาษาที่ใช้รหัสเลขฐานสองเป็นตัวสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
  • ยากต่อการเรียนรู้ อีกทั้งโปรแกรมเมอร์ในยุคนั้นต้องเชี่ยญชาญเป็นอย่างมาก
      เพื่อให้เข้าใจถึงซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการพัฒนาเสียก่อน ภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละยุคประกอบด้วย
2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
  •  เป็นภาษายุคที่ 2
  •  ภาษาแอสเซมบลี ใช้รหัสสัญลักษณ์ แทน 0 และ 1 ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรม คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1
  •  สัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code)
  •  ภาษาแอสเซมบลีก็ยังใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง จึงทำเป็นต้องมีตัวแปลภาษาที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assember)” เพื่อแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
3. ภาษาระดับสูง (High Level Language)
  • เป็นภาษายุคที่ 3
  • เริ่มมีชุดคำสั่งที่เรียกว่า “Statements” มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังก
  • โปรแกรมเมอร์เข้าใจชุดคำสั่ง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น
  • ภาษาระดับสูงจะใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ทำให้ต้องใช้ตัวแปลภาษาเพื่อแปลชุดคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด  คือ คอมไฟเลอร์ และ อินเตอร์พรีเตอร์
ตัวอย่าง ภาษา COBOL, FORTRAN,Visual-Basic
 4. ภาษายุคที่ 4(Fourth – Generation Languages : 4GL)
  • ภาษาในยุคก่อนใช้หลักการของ การเขียนโปรแกรมแบบโพรซีเยอร์ (procedurl language) เขียนโค้ดโปรแกรมยืดเยื้อ
  • ในขณะที่ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นในรูปแบบ Non-procedurl language ผู้เขียนโปรแกรมเพียงใช้คำสั่งว่าต้องการอะไรเป็นหลักสำคัญ เช่น คำสั่ง SQL (Structured Query Language) 
        ข้อดีของภาษาในยุคที่ 4
  •        การเขียนโปรแกรมจะเน้นที่ผลของงานว่าต้องการอะไร ไม่สนใจว่าจะทำได้อย่างไร
  •        ช่วยพัฒนาเนื้องาน เพราะเขียนและแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย
  •     ไม่ต้องเสียเวลาอบรมผู้เขียนโปรแกรมมากนัก ไม่ว่าผู้ที่จะมาเขียนโปรแกรมนั้นมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือไม่
  •        ผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องทราบถึงฮาร์ดแวร์ของเครื่องและโครงสร้างโปรแกรม
5. ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages)
  •        เป็น ภาษายุคที่ 5
  •         เป็นภาษาการเรียกดูข้อมูล(Query) สามารถอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถส่งความต้องการเป็นคำพูดของภาษามนุษย์ที่เป็นโครงสร้างภาษาอังกฤษได้
ประเภทของซอฟต์แวร์
    1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Softwore) 
  •        เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ
  •        ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ 
  •        คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ 
   ซอฟต์แวร์ระบบจำแนกออกเป็
  •        ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
  •        ตัวแปลภาษา 
  •        โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs)
ระบบ ปฏิบัติการ หรือ โอ  เอส (Operating System : OS)
              ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของกิจกรรมต่างๆระหว่างโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และผู้ใช้ทำงานกับโปรแกรมประยุกต์
       ตัวอย่างระบบปฎิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น Window 7 ,Unit, Linux , Macintosh เป็นต้น
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
  1.       ช่วยในการบูตเครื่อง (Booting)
  •         เป็นกระบวนการเริ่มต้นเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดเครื่องในขณะที่เครื่องปิด เรียกว่า “Cold Boot
  •         การเปิดเครื่องขณะที่เครื่องเปิดอยู่ เช่น การกดปุ่มรีเซต หรือกดปุ่ม Ctrl+Alt+Del จะเรียกการบูตว่า “Warm Boot
  •         เมื่อมีการบูทเครื่อง โปรแกรมระบบปฏิบัติการจะถูกโหลดเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจึงสามารถโต้ตอบกับระบบเพื่อสั่งงานได้
  •         สำหรับ Window OS จะมีรูปแบบการโต้ตอบกับผู้ใช้งานในลักษณะกราฟฟิก(Graphics User Interface :GUI)
    2. ควบคุมอุปกรณ์และการทำงานของคอมพิวเตอร์
  •          ระบบปฏิบัติการจะจัดการอุปกรณ์ เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกัน
  •        ตัวอย่าง เช่น เมาศ์ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีวิธีการเข้าถึงและใช้งานแตกต่างกัน แต่ด้วยโปรแกรมระบบปฏิบัติการ จะจัดการกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเหล่านั้นให้ผู้ใช้สามารถใช้งานอย่างราบรื่น 
           3. จัดสรรทรัพยากรในระบบ
               การจัดสรรทรัพยากรในระบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรด้านโปรเซส หน่วยความจำ อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต และ ข้อมูล สิ่งเหล่านี้ ระบบปฏิบัติการจะคอยบริการแก่ผู้ร้องขอและจัดสรรให้ใช้รวมถึงยกเลิกเมื่อเลิกใช้ ทั้งนี้เพื่อแชร์ทรัพยากรให้กับผู้ร้องขอต่อไปอย่างทั่วถึง


ชนิดของระบบปฏิบัติการ
จำแนกออกเป็น 3 ชนิด
  •        ระบบปฏิบัติการแบบใช้คนเดียว(Stand-Alone Operation System)
  •         ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operation System)
  •         ระบบปฏิบัติแบบฝังตัวในเครื่อง (Embedded Operation System)
ระบบปฏิบัติการแบบใช้คนเดียว(Stand-Alone Operation System)
  •        ระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งบนเครื่องเพื่อใช้งานโดดๆ โดยไม่ได้เชื่อมต่อเป็นเครือข่าย เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS ,MS-Windows ,Mac Os เป็นต้น
  •        MS-Windows นอกจากจะสามารถติดตั้งเพื่อใช้งานคนเดียวแล้ว ยังติดตั้งในรูปแบบเครือข่ายที่เป็น work group ได้ด้วย

  •        นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน

  •        รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operation System)
  •       คือระบบปฏิบัติการแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (client/Server)
  •       เป็นการติดตั้งเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งที่เป็นศูนย์บริการหรือเซิร์ฟเวอร์  ซึ่งคอยบริการข้อมูลหรือทรัพยากรณ์ ให้แก่เครื่องไคลเอ็นต์บนเครือข่าย เช่น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย เช่น Novell NetWare , Windows Server 2003 ,Unix ,Linux เป็นต้น
  •       มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน (multi-user)

  •       นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ
ระบบปฏิบัติการแบบฝังตัวในเครื่อง (Embedded Operation System)
  •        มักนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมือถือ

  •        ระบบปฏิบัติการแบบฝังตัว จะถูกเก็บไว้ในชิปหน่วยความจำรอม 

  •        ตัวอย่าง Palm OS , Pocket PC 2002 , Window CE
ตัวแปลภาษา
  •        ตัวแปลภาษา จะแปลภาษาระดับต่ำ หรือระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง
  •        ตัวแปลภาษาระดับต่ำ เรียกว่า แอสเซมเบลอร์
  •        ตัวแปลภาษาระดับสูง มีทั้ง คอมไพเลอร์ และอินเตอร์พรีเตอร์ 

      คอมไพเลอร์ (compiler) จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้ง โปรแกรม หากมีข้อผิดพลาดจำเป็นต้องแก้ไขโปรแกรมให้ถูกต้องเสียก่อน แล้วคอมไพล์ใหม่จนไม่พบข้อผิดพลาด


      อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) จะทำการแปลคำสั่งแบบทีละบรรทัด  ถึงแม้ว่าจะมีข้อผิดพลาด แต่ก็ยังสามารถสั่งรันโปรแกรมได้จนกว่าข้อผิดพลาดส่วนนั้นจะถูกทำงาน จึงหลุดออกจากการแปลและแสดงข้อผิดพลาดให้ทราบ โดยคำว่า “ข้อผิดพลาด” ซึ่งข้อผิดพลาดดนี้เกิดจาดรูปแบบทางภาษา



      โปรแกรมอรรถประโยชน์

      •          เป็นซอฟต์แวร์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และอุปกรณ์ต่างๆที่ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์

      •         ตัวอย่าง โปรแกรมสำรองข้อมูลที่สำคัญในฮาร์ดดิสก์ (Backup), โปรแกรมตรวจสอบความถูกต้อง(Scandisk)ในฮาร์ดดิสก์ , โปรแกรมที่ช่วยในการจัดระเบียบข้อมูลในฮาร์ดดิส(Disk Defragmenter) ,โปรแกรมบีบอัดข้อมูล เช่น WinZip เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมอรรถประโยชน์ หลายโปรแกรมมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Microsoft window แล้ว
      ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่ทำงานด้านต่างๆ



        •       ประเภทการจัดการไฟล์ (File Manager)

        •       ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstaller)
        •       ประเภทการสแกนดิสก์ (Disk Scanner)
        •       ประเภทการจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Defragmenter)
        •       ประเภทรักษาหน้าจอ (Screen Saver)
        ประเภทการจัดการไฟล์ (File Manager)
        •        มีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ต่างๆเช่น การคัดลอก การเปลี่ยนชื่อ การลบและการย้ายไฟล์ เป็นต้น
        •        ระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นใหม่ๆยังได้เพิ่มคุณสมบัติที่เรียกว่า image viewer เพื่อนำมาปรับใช้กับไฟล์รูปภาพได้
        ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstaller)
        •  ›ลบหรือกำจัดโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ออกไปจากระบบ
        •  ทำให้พื้นที่เก็บข้อมูลมีเหลือเพิ่มมากขึ้น
        •  ทำงานได้อย่างง่ายดาย
        ประเภทการสแกนดิสก์ (Disk Scanner)
        •        สแกนหาข้อผิดพลาดต่างๆพร้อมทั้งหาทางแก้ปัญหาในดิสก์
        •        ประยุกต์ใช้เพื่อสแกนหาไฟล์ที่ไม่ต้องการใช้งาน (unnecessary files) เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ไประยะหนึ่งได้
        ประเภทการจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Defragmenter)
        •        ช่วยในการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลให้เป็นระเบียบ และเป็นกลุ่มเป็นก้อน  

        •       เมื่อต้องการใช้งานไฟล์ข้อมูลในภายหลังจะเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็วกว่าเดิม
        ประเภทรักษาหน้าจอ (Screen Saver)


        •        ช่วยถนอมอายุการใช้งานของจอคอมพิวเตอร์ให้ยาวนานมากขึ้น

        •        ใช้ภาพเคลื่อนไหวไปมา และเลือกลวดลายหรือภาพได้ด้วยตนเอง

        •        อาจพบเห็นกับการตั้งค่ารหัสผ่านของโปรแกรมรักษาหน้าจอเอาไว้ได้
        2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
        •         ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ จะเป็นโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่างานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานทุก ๆ ด้านตามแต่ผู้ใช้ต้องการ 
        •         สามารถแบ่งออกเป็น
                 2.1 ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไป (General-Purpose)


                 เป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้สามารถนำซอฟต์แวร์ไปใช้งานทั่วไป เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตาราง โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้นโปรแกรมมักจะนิยมใช้บนไมโครคอมพิวเตอร์ทั้งที่ทำงานหรือที่บ้านเพื่อใช้สำหรับทำงานหรือเพื่อการศึกษา 

                        ตัวอย่าง ซอฟแวร์ใช้งานทั่วไป
        โปรแกรมประมวลผลคำ(Word Processing Program) 
        เป็นโปรแกรมเหมาะสำหรับพิมพ์งานเอกสารให้ออกมาในรูปแบบรายงาน จดหมาย หนังสือ บทความ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสะกดคำ ช่วยจัดย่อหน้าในการพิมน์ สามารถคำนวณที่ไม่ซับซ้อนได้ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น มักทำเป็นโปรแกรมสำเร็จ(Packaged Program) ได้แก่ Microsoft Word, PageMaker,   CorelDraw เป็นต้น

                       โปรแกรมนำเสนอข้อมูล(Presentation)
                       เป็นการประยุกต์การสร้างเอกสารในรูปแบบแผ่นสไลน์ เหมาะสำหรับงานนำเสนอ เช่น การนำเสนอข้อมูลในที่ประชุม การอบรม-สัมนา

                        โปรแกรมกราฟิก(Graphices)
                              เป็นโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับการสร้างและตกแต่งภาพเช่น โปรแกรม Photoshop, Paint เป็นต้น

                        2.2 ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะด้าน (Application- Specific)
                   เป็นชุดซอฟต์แวร์ต่างๆที่ใช้กับระบบงานทางธุรกิจหรืองานอื่นๆเฉพาะด้านเช่น

        •        โปรแกรมระบบบัญชี (Accounting) เช่น ระบบบัญชีเงินเดือน ลูกหนี้ ระบบเช่าซื้อ บัญชี แยกประเภท
        •        โปรแกรมช่วยในการเรียนการสอน CAI (Computer-Assisted Instruction) โดยการใช้คอมพิวเตอร์ หรือจำลองตัวเองเป็นสื่อในการเรียนการสอนประกอบกับรูปภาพ (เคลื่อนไหว) ในลักษณะต่างๆ ซึ่งทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ
        •        โปรแกรมเพื่องานออกแบบหรือ CAD (Computer-Aidea Design) เช่น AutoCad  AutoLISP และ  DisgnCAD เป็นต้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้สำหรับการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ และงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม
        •        โปรแกรมตรวจสอบ/ป้องกันไวรัส (Anti-Virus) มีไว้เพื่อป้องกันการโจมตีของไวรัสคอมพิวเตอร์ และมักจะมีคำสั่งให้ทำลายล้างไวรัสออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น McAfee virus scan, AVI-scan, Norton Anti-virus เป็นต้น
                ในการตัดสินใจเลือกใซอฟต์แวร์จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง โดยพิจารณาจาก
          1. การจัดหาทรัพยากรซอฟต์แวร์ 
                           การได้มาของซอฟต์แวร์นั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์กร และการดำเนินงานของส่วนต่างๆ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องสนใจในการเลือกซอฟต์แวร์ ว่าจะหามาด้วยวิธีการใด เช่น อาจจะให้องค์กรพัฒนาเอง หรือ จ้างบริษัทภายนอก ซึ่งการจัดหาซอฟต์แวร์นั้นส่งผลต่อค่าใช้จ่าย เพราะฉนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ

                 2. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร
                      ในการเลือกซอฟต์แวร์มาใช้ในองค์กรนั้น มีแนวทางพิจารณาดังนี้
              2.1 ความเป็นมาตรฐาน
          ในแต่ละหน่วยงานจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในองค์กรอยู่แล้ว เพื่อความสะดวกในการดูแลระบบและการบริหารงาน ควรจัดหาซอฟต์แวร์ที่สอดคล้องและง่ายต่อการเรียนรู้
              2.2 ความเหมาะสมและคุณสมบัติของซอฟต์แวร์
          ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ได้ออกแบบมาเพื่องานเฉพาะอย่าง เช่น งานด้านธุรกิจ วิทยาศาสตร์ ดังนั้นในการเลือกซอฟต์แวร์มาใช้งานควารพิจารณาถึงคุณสมบัติและลักษณะงานด้วย

              2.3 ความเข้ากันได้
          ซอฟต์แวร์ที่เลือกมาใช้งานต้องสามารถเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติงานและฮาร์ดแวร์ที่ใช้อยู่ด้วย ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ไม่มีความคิดเห็น:

          แสดงความคิดเห็น